วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หินแปร

หินแปร (Metamorphic Rock)

เกิดจากการแปรสภาพของหินอัคนี และหินตะกอน เกิดจากการแปรสภาพของหินอัคนี และหินตะกอน เพราะถูกความร้อนความกดดันภายในโลก และการเปลี่ยนแปลงของ เปลือกโลก ทำให้รูปร่างและเนื้อเดิมของหินเปลี่ยนไป


-หินไนส์ เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินแกรนิต มีความแข็งและทนทานมาก ประกอบด้วยสารที่มีสีขาวขุ่น สีขาวใส และสีดำเป็นมัน เรียงกันเป็นริ้วขนาน นิยมใช้ทำโม่และครก

-หินชนวน เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินดินดาน เนื้อละเอียด ผิวเรียบ เป็นมัน เรียงกันเป็นแผ่นบาง ๆ แยกออกจากกันได้ แข็งกว่าหินดินดาน ใช้ทำกระดานชนวน ทำแผ่นอิฐปูทางเดิน

-หินอ่อน เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินปูน มีทั้งเนื้อละเอียด และเนื้อหยาบ มีสีขาวหรือสีต่าง ๆ นิยมใช้ทำหินประดับอาคาร นำมาแกะสลัก ทำแผ่นอิฐปูทางเดิน


หินชั้น หรือ หินตะกอน


หินชั้นหรือหินตะกอน (Sedimentary Rock)


เกิดจากการทับถม และสะสมตัวของตะกอนต่างๆ ได้แก่ กรวด แร่ ทราย ดินที่ผุพังหรือดิที่สึกกร่อนถูกชะละลายมาจากหินเดิม โดยตัวกระบวนการธรรมชาติ คือ กระแสน้ำ ลม หรือคลื่นในทะเล พัดพาไปทับถมและแข็งตัวเป็นหิน หิน ชนิดนี้จึงมีลักษณะเป็นตะกอนหรือเป็นชั้น ๆ เช่น 
-หินทรายมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนหินทราย มีประโยชน์ทางด้านก่อสร้าง ทำหินลับมีด ทำครก



-หินปูน เนื้อแน่นละเอียด มีสีขาว เทา ชมพู หรือสีดำ อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหิน เช่น ซากหอย ปะการัง และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี

 -หินดินดาน มีเนื้อละเอียดมากเหมือนดินเหนียว  มักจะมีรอยชั้นบาง ๆ เมื่อบิดจะแตกตัวตามรอยชั้น  มักจะพบว่ามีซากดึกดำบรรพ์อยู่ด้วย  มีสีต่างกัน เช่น แดง น้ำตาล เหลือง เทา เขียว และดำ ประโยชน์ใช้เป็นวัสดุผสมใช้ทำซีเมนต์ หินประดับ



หินกรวด เป็นหินเนื้อหยาบเกิดจากตะกอนของหิน กรวด ทราย ถูกกระแสน้ำพัดพามารวมกัน ประโยชน์ ใช้ในการก่อสร้าง ตกแต่งสวน







หินอัคนี

หินอัคนี (Igneous Rock)
หินอัคนี เป็นหินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด (Magma) ที่หลอมละลายอยู่ใต้เปลือกโลกและลาวา สามารถแบ่งหินอัคนีตามแหล่งที่มาออกเป็น 2 ประเภท คือ
  หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive igneous rocks) เป็นหินที่เกิดจากหินหนืดที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ ทำให้ผลึกแร่มีขนาดใหญ่ และเนื้อหยาบ เช่น

-หินแกรนิต มีเนื้อหินเป็นผลึกขนาดใหญ่ มีความแวววาว มีความแข็งทนทานมาก จึงนิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ


-หินไดออไรต์ มีเนื้อหินหยาบ  ผลึกแร่ใหญ่ค่อนข้างสม่ำเสมอ  มีสีคล้ำอาจถึงดำเพราะปริมาณแร่สีเข้มมีมากขึ้นทนทานต่อการสึกกร่อน นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง


 -หินแกบโบร มีสีเขียวเข้มถึงดำ พบไม่มากนักบนเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป แต่พบมากในส่วนล่างของเปลือกโลกส่วนที่เป็นมหาสมุทร ในประเทศไทยพบน้อยมาก 


        
          หินอัคนีพุ (Extrusive igneous rocks) บางทีเรียกว่า หินภูเขาไฟ เป็นหินหนืดที่เกิดจากลาวาบนพื้นผิวโลกเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลึกมีขนาดเล็ก และเนื้อละเอียด

-หินบะซอลต์เนื้อหินจะมีสีคล้ำจนถึงดำ เนื้อหินแน่นละเอียด ไม่มีความแวววาว แต่มีรูพรุน มีความแข็งและทนทานต่อการสึกกร่อน นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง

 -หินไรออไรต์ มีเนื้อละเอียดซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็ก มีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีชมพู และสีเหลืองประโยชน์ ใช้เป็นหินก่อสร้าง ทำถนน ทางรถไฟ ทำครก ประดับสวน





หินและการกำเนิดหิน



หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เกิดจากการเกาะตัวกันของแร่ หินเป็นสารผสมกับซากดึกดำบรรพ์หรือของแข็งอื่นๆ หินมีหลายลักษณะ คุณสมบัติแตกต่างกันตามชนิดของหิน ซึ่งนักธรณีวิทยา จำแนกหินตามลักษณะการเกิดได้  3  ประเภท  คือ หินอัคนี หินตะกอน  หินแปร

-หินอัคนี (Igneous Rock)

หินอัคนี เป็นหินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด (Magma) ที่หลอมละลายอยู่ใต้เปลือกโลกและลาวา เมื่อเย็นตัวลงแล้วตกผลึกเป็นหิน


 -หินชั้นหรือหินตะกอน (Sedimentary Rock)

เกิดจากการทับถม และสะสมตัวของตะกอนต่างๆ ได้แก่  แร่ กรวด ทราย ถูกชะละลายมาจากหินเดิม ที่ถูกกระแสลมกระแสน้ำพัดพาไปทับถมและแข็งตัวกลายเป็นหิน  

-หินแปร (Metamorphic Rock)

เกิดจากการแปรสภาพของหินอัคนี และหินตะกอน โดยการกระทำของความร้อน ความดันและปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เนื้อหิน และโครงสร้างเปลี่ยนไปจากเดิม